Saturday, September 22, 2012

รู้จักสีที่อดทนสีที่ทนทาน

รายชื่อสีต่อไปนี้ จะถือว่าเป็นสีที่ทนทาน
             ALIZARIN CRIMSON     สีแดงเข้มอมน้ำเงินเล็กน้อย , โปร่งแสงหรือมีความบางมาก
             BURNT SIENNA                           สีน้ำตาลทอง , บางหรือโปร่งแสง
             ALIZARIN CRIMSON GOLDEN   สีแดงร้อนกว่า Alizarin Crimson, เนื้อสีบางมาก
             BURNT UMBER                  สีน้ำตาลไหม้
             CADMIUM RED LIGHT      สีแดงแกมส้ม , สว่างสดใส , ทึบแสงหรือข้นเล็กน้อย
             CADMIUM YELLOW LEMON    สีเหลืองอ่อน , ข้นเล็กน้อย
             CADMIUM YELLOW DEEP        สีส้มเหลือง , ข้นเล็กน้อย
             CERULEAN BLUE       สีน้ำเงินอุ่น , ข้นเล็กน้อย
             EMERALD GREEN      สีเขียวเย็น ( น้ำทะเล ), สว่างเล็กน้อย
             ULTRAMARINE BLUE และ FRENCH ULTRAMARINE
             เหมือนกันมาก แต่ French อุ่นกว่าเล็กน้อยสีทั้งคู่เป็นสีบาง หรือ มีความโปร่งแสง
             GAMBOGE HUE         สีเหลืองจาง
             NEW GAMBOGE        สีเหลืองจางที่เข้มขึ้นอีกนิดๆ มีความโปร่งแสง
             TERRE VERTE           สีเขียวอุ่น
             HOOKER S GREEN LIGHT  และ
             HOOKER S GREEN DARK   สีเขียวธรรมชาติ , โปร่งแสงมาก
             PERMANENT GREEN          สีเขียวเข้มจัด , โปร่งแสงมาก
             PRUSSIAN BLUE       สีน้ำเงินเย็น , เข้ม , โปร่งแสงมาก
             RAW SIENNA   และ
             RAW UMBER    สีน้ำตาลอมเหลืองทั้งคู่ , ข้นหรือทึบแสง
             SAP GREEN      สีเขียวเหลืองจาง เหมือนใบไม้แรกผลิ , โปร่งแสง
             THALO BLUE    และ THAB GREEN เป็นสีเย็น , เข้มและแรง , โปร่งแสง
             VERMILION     สีแดงเพลิง , ทึบแสงเล็กน้อย
             VIRIDIAN        สีเขียวเย็น , เข้ม , โปร่งแสงมาก

 

กระดาษชนิดต่างๆ

กระดาษ
   ในบรรดาอุปกรณ์ทั้งหมดของการเขียนสีน้ำ สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ “ กระดาษ ” กระดาษสีน้ำที่ดีจะมีส่วนผสมของฝ้ายถึง 100% เส้นใยที่ฟอกขาวแล้วจะถูกทำให้เหลว แล้วจัดการทำให้เป็นแผ่นๆ ด้วยกรรมวิธีต่างๆ ของผู้ผลิตกระดาษสีน้ำแทบจะทุกชนิดจะมีผิวอยู่ 3 แบบ คือ เรียบ กลางๆและหยาบและจะมีความ หนาต่างๆ กัน อีกทั้งมีหลากหลายยี่ห้อ อาทิ 

             D Arches        ผลิตด้วยมือ ของฝรั่งเศส
             Crisbrook       ผลิตด้วยมือ ของอังกฤษ
             Fabriano        ผลิตด้วยเบ้า ของอิตาลี
             Strathmore    ผลิตด้วยเครื่องจักร ของอเมริกา
             Capri             ของอิตาลี
             R.W.S.           ผลิตด้วยมือของอังกฤษ (Roy Watercolor Society )

 

การขึงกระดาษ

การขึงกระดาษ
   การขึงกระดาษสีน้ำ เป็นการรักษาสภาพความราบเรียบของพื้นภาพ เมื่อระบายสีน้ำให้เปียกชื้นมาก ควรขึงกระดาษทุกน้ำหนัก เมื่อขึงแล้วก็สามารถจะระบายให้เปียกชุ่มอย่างไรก็ได้ การขึงกระดาษจะต้องทำให้กระดาษเปียกชื้นเสียก่อน เพื่อขยายเส้นใยของกระดาษ หลังจากนั้นจึงติดกระดาษให้รอบด้าน มีหลักในการทำดังนี้
•  จุ่มกระดาษให้เปียกทั่วถึงกระดาษ 90 ปอนด์แช่น้ำ 3 นาที 14 ปอนด์ 8 นาที และ 300 ปอนด์ 20 นาที (โดยประมาณ)
•  ซับน้ำให้หมาดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้วยกระดาษบรู๊ฟ
•  ถ้าใช้แผ่นรองเขียนเป็นไม้อัด ควรทาแลคเกอร์เคลือบเสียก่อน หรืออาจใช้กระดาษบรู๊ฟสะอาดรองพื้น
•  ใช้กระดาษกาวชนิดทาน้ำ ( ไม่ใช่เทปย่น ) ผนึกติดทุกด้าน โดยเริ่มต้นทีละด้าน
•  วางแผ่นรองบนพื้นราบและปล่อยไว้ให้แห้งด้วยลม ไม่ควรนำไปตากแดด
กระดาษสีน้ำชนิดผนึกเป็นปึก (เล่ม)
   กระดาษ สีน้ำชนิดผนึกเป็นปึก เป็นกระดาษสีน้ำที่ผนึกรวมอยู่ด้วยกันโดยการทากาวติดไว้ที่ด้านข้างเว้นไว้ เพียงเล็กน้อยด้านใดด้านหนึ่ง สำหรับใช้เกรียงระบายสีสอดเข้าไปเพื่อแยก กระดาษออกจากปึกกระดาษลักษณะนี้เหมาะสำหรับการนำออกไปเขียนข้างนอก โดยไม่ต้องขึงกระดาษ ไม่ต้องหอบแผ่นรองที่มีน้ำหนักมากออกไป และไม่ต้องกังวลเมื่อข้างนอกมีลมพัดแรง

 

การใช้ด้านกระดาษที่ถูกต้อง

การใช้ด้านกระดาษที่ถูกต้อง
   ด้าน ของกระดาษที่ถูกต้องคือด้านที่สามารถอ่านหนังสือลายน้ำได้ อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่งก็สามารถใช้งานได้เช่นกัน ด้านหลังของกระดาษสีน้ำชนิดหยาบและชนิดอัดเย็นจะมีลักษณะเรียบมากกว่าด้าน หน้า
ถ้าใครชอบระบายภาพบนด้านหลังกระดาษ ก็ควรหลีกเลี่ยงการระบายบริเวณลายน้ำ เพราะจะปรากฏเป็น รอยตัวหนังสือกลับด้าน
* แต่มีข้อแนะนำว่า ถ้ามีโอกาสควรเลือกใช้กระดาษให้หลากหลายชนิด ยี่ห้อ เพื่อให้เกิดความรูู้้และความคุ้นเคย

 

การเคลือบผิวด้วยเยลาติน

การเคลือบผิวด้วยเยลาติน
   กระดาษสีน้ำสำหรับศิลปิน นอกจากจะผสมเยลาตินในเนื้อกระดาษแล้ว ยังเคลือบผิวด้วยเยลาตินอีกด้วย เป็นเยลาตินที่สามารถดูดซับได้อย่างเป็นธรรมชาติ  ช่วยทำให้สีบนพื้นผิวสดใสขึ้น   ช่วยให้การซับสีง่ายขึ้น และกันไม่ให้พื้นผิวเสียหายได้ง่ายเมื่อใช้ มาสกิงฟลูอิด
    
     สีกระดาษ  ปกติสีของกระดาษสีน้ำจะเป็นสีขาว  เพื่อให้แสดงสะท้อนผ่านพื้นภาพได้อย่างดีที่สุดช่วยให้สีน้ำมีประกายแสงมากขึ้น บางคนชอบกระดาษสีหม่นเพื่อช่วยให้พื้นภาพมีสีกลมกลืนกัน  (มีสีขาวและ ครีม เป็นส่วนใหญ่ )
     น้ำหนักกระดาษ ตามปกติแล้ว กระดาษสีน้ำจะมีอยู่สามน้ำหนัก คือ ขนาด 90 ปอนด์ (190 แกรม ) 140 ปอนด์(300 แกรม )  และ  300 ปอนด์ (640 แกรม )  กระดาษยิ่งหนักขึ้น  การระบายสีน้ำแล้วเกิดคลื่นก็จะน้อยลงพร้อมกันนั้นราคาก็จะแพงขึ้นด้วย กระดาษน้ำหนัก 140 ปอนด์ (300 แกรม ) เป็นที่นิยมมากที่สุด และ ไม่ต้องขึงกระดาษสำหรับการระบายสีน้ำที่ใช้ปริมาณน้ำอย่างปกติ
 

กระดาษสีน้ำ

กระดาษสีน้ำ
      ความงามของภาพสีน้ำจะเกิดขึ้นบนกระดาษที่มีคุณภาพ โดยทั่วไปแล้วกระดาษสำหรับเขียนภาพสีน้ำจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งสองลักษณะจะช่วยให้ภาพมีความคงทนถาวร อย่างแรกผลิตจากฝ้ายและอีกอย่างผลิตจากเส้นใยไม้ตามกระบวนการทางเคมี
 กระดาษสีน้ำจากฝ้าย
      กระดาษชนิดนี้มีสามลักษณะพื้นผิว
•  ชนิดหยาบ (Rough)  กระดาษผิวหยาบจะผลิตจากเครื่องจักรที่มีแผ่นผ้าขนสัตว์กดทับ ใช้แรงอัดในขณะที่ยังเปียกชื้น ชนิดผิวหยาบจะให้พื้นผิวดีเยี่ยม  สำหรับการระบายสีน้ำที่ต้องการให้เนื้อสีฝังอยู่บนริ้วรอยของกระดาษ เป็นที่นิยมสำหรับการระบายในลักษณะแสดงออกอย่างอิสระ

•  ชนิดอัดเย็น (Cool Pressed)เป็นกระดาษชนิดที่ต่างไปจากการอัดร้อน ผลิตจากกระดาษผิวหยาบ นำมาอัดโดยไม่ใช้ผ้าขนสัตว์รองพื้น มีพื้นผิวหยาบปานกลาง เป็นที่นิยมสำหรับการระบายที่สร้างพื้นผิว ให้สวยงาม

•  ชนิดอัดร้อน (Hot Pressed)   กระดาษชนิดอัดร้อน  เป็นกระดาษผิวเรียบ  ที่เกิดจากลูกโม่อัดร้อนนิยมใช้สำหรับการเขียนภาพที่เก็บรายละเอียด เขียนภาพประกอบ และสำหรับนักออกแบบที่ทำงานเพื่อเป็นต้นแบบสิ่งพิมพ์
    
   กระดาษสีน้ำจากเส้นใยไม้
    กระดาษสีน้ำราคาประหยัดผลิตจากเส้นใยไม้ตามกระบวนการทางเคมี กระดาษชนิดนี้ผลิตเพียงชนิดอัดเย็น กระดาษชนิดนี้ราคาไม่แพง เช่น กระดาษสีน้ำคอทแมน ปราศจากกรดเคลือบผิวพิเศษ และเป็นกระดาษที่ปราศจากกรดกระดาษสีน้ำจะต้องไม่มีกรด   เพราะในระยะยาวแล้วต้องมั่นใจได้ว่า  กระดาษจะคงสภาพเดิมไม่ออกสีเหลืองไม่กรอบ ข้อสำคัญคือต้องเป็นกระดาษที่ปราศจากกรดและเคลือบผิวตามกระบวนการธรรมชาติ

ประวัติสีน้ำ

การระบายสีน้ำ
   ปัจจุบันเรานิยมเขียนภาพสีน้ำกันอย่างแพร่หลาย ความนิยมในการเขียนภาพสีน้ำเพราะความงดงามของสีน้ำที่แสดงให้เห็นถึง มิติของสี ความซับซ้อนของพื้นภาพ และประกายแสง ลักษณะพิเศษเหล่านี้ เกิดจากการระบายที่ประณีตซับซ้อน นอกจากนั้นแล้ว สีน้ำยังมีเสน่ห์ ในการนำออกไประบายยังสถานที่ี่ ต่างๆ เราเพียงแต่มีกล่องใส่สีน้ำหรืออาจจะใช้สีน้ำช่วยระบายเป็นภาพร่างสำหรับการเขียนภาพสีน้ำมัน หรือสีอะครีลิค อัลเบรชท์ ดูเรอร์ เป็นศิลปินคนแรกที่ใช้สีน้ำเป็นสื่อในการแสดงออกเพื่อเขียนภาพสัตว์์ และ ภาพภูมิทัศน์ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19  เทอร์เนอร์ เป็นศิลปิน คนแรกในการระบายสีน้ำตามแนวทางศิลปะสมัยใหม่
   ปีคริสต์ศักราช 1832 นักเคมีและจิตรกร วิลเลียม วินเซอร์  และ เฮนรี นิวตัน ได้เริ่มต้นธุรกิจ สิ่งที่ทั้ง สองประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ คือ สีน้ำ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน คือ สีน้ำบรรจุกล่อง แล้วจึงตามมาด้วย สีน้ำชนิดบรรจุหลอดโลหะในปี ค.ศ.1841
    คำแนะนำต่อไปนี้  ได้เตรียมข้อมูลที่หลากหลายสำหรับการระบายสีน้ำ  เป็นพื้นฐานการทำงานที่ดี สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา(มือใหม่) สำหรับมืออาชีพ ก็มีคู่มือวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์์งานศิลปะด้วยเช่นกัน

 

สีน้ำ WATER COLOUR

 สีน้ำ  
WATER COLOUR
ช่วงชั้นที่ 3
    สี น้ำ เป็น สีที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณ ทั้งในแถบยุโรป และเอเชีย โดยเฉพาะจีน และญี่ปุ่น ซึ่งมีความสามารถในการระบายสีน้ำ แต่ในอดีตการระบายสีน้ำมักใช้เพียงสี เดียว  คือ สีดำผู้ที่จะระบายได้อย่างสวยงามจะต้องมีทักษะการใช้พู่กันที่สูงมาก การ ระบายสีน้ำจะใช้น้ำ เป็นส่วนผสม และทำละลายให้เจือจาง ในการใช้สีน้ำ ไม่นิยมใช้สีขาวผสมเพื่อให้มีน้ำหนักอ่อนลง และไม่นิยมใช้สีดำผสมให้มีน้ำหนักเข้มขึ้น  เพราะจะทำให้เกิดน้ำหนักมืดเกินไป แต่จะใช้สีกลางหรือสีตรงข้ามผสมแทน ลักษณะของภาพวาดสีน้ำจะมีลักษณะใส  บาง และ สะอาด การระบายสีน้ำต้องใช้ความชำนาญสูงเพราะผิดพลาดแล้วจะแก้ไขยากจะระบายซ้ำๆ ทับกันมากๆ ไม่ได้จะทำให้ภาพออกมามีสีขุ่น ๆ ไม่น่าดู หรือที่เรียกว่า สีเน่า  สีน้ำที่มีจำหน่าย
    ในปัจจุบัน จะบรรจุในหลอด เป็นเนื้อสีฝุ่นที่ผสมกับกาวอะราบิค ซึ่งเป็นกาวที่สามารถละลาย น้ำได้ มีทั้งลักษณะที่โปร่งแสง ( Transparent ) และกึ่งทึบแสง ( Semi-Opaque )    ซึ่งจะมีระบุ ไว้ข้างหลอด  สีน้ำนิยมระบายบนกระดาษที่มีผิวขรุขระ หยาบ

     ก่อน อื่นข้าพเ้จ้าขอขอบพระคุณแหล่งที่มาของข้อมูลที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการ ระบายสีน้ำ ซึ่งจะเป็นข้อมูลแหล่งความรู้สำหรับนักเรียนที่มีความสนใจเกี่ยวกับสีน้ำแต่ โรงเรียนบางแห่งอาจจะไม่มีครูสอนในวิชานี้ข้าพระเจ้าจึงขอความอนุเคราะห์ ข้อมูลจากสื่อต่างของท่าน นำมาเป็นสือการสอนเพื่อประโยชน์ในการศึกษาแก่นักเรียนต่อไป ข้าพเจ้าจึงขอขอบพระคุณแหล่งที่มาของข้อมูลดังต่อไปนี้
แหล่งที่มาของข้อมูล
    อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต
    สูจิบัตรนิทรรศการจิตรกรรมสีน้ำ, อารี สุทธิพันธุ์ และ สุชาติ วงษ์ทอง, สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน, 17 ก.พ.-25 มี.ค. 2526
    อาจารย์ศิพพร  สุนทระศานติก
    http://www.prc.ac.th/newart/webart/colour05.html
    http://www.chaarts.com/article%20paint%20water%20colour%20colour.html
    http://www.dhas.com/index.html?app=product_003&mcat=C007&scat=0059
    http://school.obec.go.th/art_watlamdinso/jukapun/jukkapun.htm

เทคนิค สีน้ำ

เทคนิค สีน้ำ

1.เปียกบนเปียก
    การระบายสีแบบเปียกบนเปียก หมายถึง
การระบายน้ำลงบนกระดาษก่อนแล้วจึงระบายสีตามที่ต้องการลงไป
การระบายแบบเปียกบนเปียกนี้ จะช่วยให้ท่านระบายสีติดบนกระดาษทุกส่วน
เพราะกระดาษบางชนิดระบายสีติดยาก เนื่องจากมีความมันหรือความหยาบขรุขระ
    การระบายแบบเปียกบนเปียก มีประโยชน์มากเมื่อจะระบายท้องฟ้า
หรือผิววัตถุที่มีมัน เพราะจะให้ความรู้สึกกลมกลืนของสีเด่นชัด เทคนิคของการระบายแบบเปียกบนเปียกที่สำคัญมี
  2 ประการ คือ
1.1. การไหลซึม
1.2. การไหลย้อน



  • 2.เปียกบนแห้ง
 
    การระบายแบบเปียกบนแห้ง
หมายถึง การระบายสีบนกระดาษที่ไม่ต้องลงน้ำก่อน
  คำว่าเปียก  คือ พู่กันกับสี ส่วนแห้ง คือ
แผ่นกระดาษ การระบายแบบเปียกบนแห้ง เป็นวิธีระบายทั่วไป ซึ่งมีเทคนิคที่สำคัญอยู่
3 ประการ คือ
 
2.1. ระบายเรียบสีเดียว
2.2. ระบายเรีบยสีอ่อน สีแก
2.3. ระบายเรียบหลายสี
 
 
  • 3.แห้งบนแห้ง
   การระบายแบบแห้งบนแห้ง หมายถึง
การระบายสีที่ใช้พู่กันจุ่มสีน้อย แล้วระบายอย่างรวดเร็วบนกระดาษ การระบายสีแบบนี้
ผู้ระบายมักจะบันทึกความรู้สึกของตนลงไปในขณะระบายด้วย
   การระบายแบบแห้งบนแห้ง มีประโยชน์ในการที่จะเน้นส่วนใดส่วนหนึ่ง  หรือบริเวณที่เห็นว่า ควรทำให้เด่นได้ บางท่านก็ให้ความเห็นว่า
ผลอันเกิดจากการระบายแห้งบนแห้ง คล้ายกับการเขียนชวเลข หรือการส่งโทรเลข กล่าวคือ
มีข้อความสั้นๆ ชัดเจน กะทัดรัด และรวดเร็ว   การระบายแบบแห้งบนแห้ง มีเทคนิคที่สำคัญอยู่
3
ประการ
คือ
3.1. การแตะ
3.2. การป้าย
3.3. เทคนิคการผสม
 
 
                                    มาลองสีลงน้ำกันเถอะ
 
 
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 เป็นอันเสร็จเรียบร้อยจร้า
 

สร้างโดย: 
NuKuB

เทคนิคการใช้สีน้ำ

เทคนิคการใช้สีน้ำ 

เทคนิคพื้น ฐาน5ย่างนี้จะทำให้เพื่อนๆ หรือผู้ที่เริ่มต้นรูกจักสีน้ำมากขึ้น และสามารถนำไปสร้างผลงานศิลปะด้วยสีน้ำที่สวยงามได้อย่างแน่นอนค่ะ
การระบายแบบเปียกบนเปียก (Wet ON Wet)
คือสีเปียก (สีผสมน้ำแล้ว) ระบายบนกระดาษเปียก (กระดาษที่ระบายน้ำหรือน้ำสีไว้แล้ว) วิธีการคือ ใช้พู่กันจุ่มสี (ค่อนข้างข้น) แตะแต้มบนกระดาษที่เปียกอยู่แล้วตามด้วยสีอื่น สีจะไหลซึม รุกรานเข้าหากันอย่างกลมกลืนและมีส่วนที่เกิดเป็นสีใหม่เพิ่มขึ้นมา 
ถ้าทำบนกระดาษเปียกชุ่ม สีจะรุกรานกันรวดเร็วและนุ่มนวล เทคนิคนี้นำไปใช้ระบายท้องฟ้า หรือน้ำทะเล ได้
ถ้าทำบนกระดาษเปียก สีจะรุกรานไม่มากแต่ยังคงผสมผสานกลมกลืนกันดี เทคนิคนี้นำไปใช้ระบายเป็นพวกวัตถุรูปทรงทั่วไปได้
ถ้าทำบนกระดาษหมาด สีจะผสมผสานกลมกลืนกันน้อย เห็นการแยกสัดส่วนชัดเจนกว่า เทคนิคนี้นำไปใช้ สร้างพื้นผิวแสดงความแตกต่าง ไม่เรียบ
การระบายแบบเปียกบนแห้ง (Wet ON Dry)
เป็นลักษณะการระบายเรียบโดยใช้สี (ผสมน้ำแล้ว) ระบายบนกระดาษแห้งมี 3 รูปแบบดังนี้
ระบายเรียบสีเดียว (Flat wash) โดยใช้พู่กันจุ่มสีระบายไปตามแนวนอนบนกระดาษที่เอียงเล็กน้อยให้น้ำสีไหลลง ไปกองข้างล่างแล้วระบายต่อเนื่องกันลงไปจนจบ การระบายครั้งต่อไปให้ต่อที่ใต้คราบน้ำที่ยังเปียกอยู่ ผลที่ได้คือสีจะใส เรียบสม่ำเสมอ ระวัง อย่านำพู่กันไปจุ่มน้ำ หรือเติมน้ำลงในสี ระหว่างทำงานเพราะจะทำให้สีที่ได้ไม่เรียบเกิดเป็นขั้นได้
ระบายเรียบหลายสี (Colour wash) ทำเหมือนกับระบายเรียบสีเดียวแต่เมื่อจบสีที่ 1 แล้วให้ระบายสีที่ 2 ต่อที่ใต้คราบน้ำขณะที่เปียกอยู่ ผลที่ได้คือ สีต่างๆ จะมีการผสมผสานกลมกลืนกันอย่างต่อเนื่อง หมายเหตุ ทั้งการระบายเรียบสีเดียว และ หลายสี เป็นพื้นฐานของงานสีน้ำที่นำไปใช้ระบาย ให้เกิดภาพแล้วแต่ว่าจะให้เป็นสีเดียว หรือหลายสี เช่น ภาพคนใส่เสื้อผ้า ก็ต้องเป็นระบายเรียบหลายสี
ระบายเรียบอ่อนแก่ (Grade wash) เป็นการระบายให้เกิดค่าน้ำหนักของสี จะเริ่มจากอ่อนไปหาแก่ หรือ จากแก่ไปหาอ่อนก็ได้ ถ้าเริ่มจาก แก่ไปหาอ่อน ก็ผสมสีให้ข้นกว่าปกติ แล้วระบายเรียบได้ช่วงหนึ่งให้ล้างพู่กันจนสะอาดแล้วจุ่มน้ำมาระบายใต้คราบ น้ำเป็นระยะๆให้สีจางลงไปเรื่อยๆ ถ้าเริ่มจาก อ่อนไปหาแก่ ให้ผสมสีเจือจางแล้วระบายเรียบไปช่วงหนึ่ง ก็เพิ่มสีให้มีความเข้มข้นขึ้น แล้วระบายต่อใต้คราบน้ำลงมา เป็นระยะๆ ให้สีเข้มขึ้นการระบายเรียบอ่อนแก่ เป็นเทคนิคที่นำไปใช้ระบายให้เกิด มิติ แสง-เงา
การระบายแบบแห้งบนแห้ง (DRY ON DRY) เป็นการระบายสีข้นๆบนกระดาษแห้งในลักษณะต่างๆเช่น แตะ แต้ม ขีด เขียน ลากเส้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการใช้ส่วนต่างๆของพู่กันคือปลายบ้าง โคนบ้างเพื่อให้เกิดเป็นลักษณะต่างๆ เทคนิคนี้นำไปใช้เน้นเพื่อเพิ่มรายละเอียดของภาพ เช่น เมื่อเราทำภาพตัวบ้านเสร็จแล้วเราก็มาใส่ประตู หน้าต่าง ด้วยการใช้สีข้นๆ แตะ แต้ม ลงไปเราก็จะได้รายละเอียดของภาพแบบ DRY ON DRY
การระบายเคลือบ (Glazing)
เป็นการระบายทับซ้ำสีที่แห้งสนิทแล้วด้วยสีเดิมที่เข้มกว่า โดยสีที่ระบายเคลือบนี้ควรต้องเป็นสีโปร่งแสง ผลที่ได้คือ ส่วนที่ระบายเคลือบจะเป็นพื้นและส่วนที่เว้นไว้จะเป็นรูป ซึ่งรูปกับพื้นนี้จะมีความขัดแย้งหรือตัดกันเสมอ คือถ้าพื้นเข้มรูปต้องอ่อน ถ้าพื้นอ่อนรูปต้องเข้ม เทคนิคการระบายเคลือบนี้นำไปใช้ สร้างรูปทรง ผลักระยะให้ลึกตื้น  สร้างเงา ลดความจัดจ้านของสีบรรยากาศ  
การระบายขอบคมชัดและเรือนราง (Hard edge/Soft edge)
Hard edge เป็นการระบายให้เกิดการตัดกัน แบ่งขอบเขตระหว่างรูปกับพื้นหรือพื้นกับรูปอย่างชัดเจน หรือให้เกิดเป็นเหลี่ยมเป็นสัน วิธีการ คือระบายเป็นขอบตามที่ต้องการแล้วปล่อยทิ้งไว้ ไม่ทำให้เกิดการกลมกลืน เช่นกรณีเขียนภาพทิวทัศน์ที่มีบ้านในสวน เราให้ส่วนที่เป็นหลังคาเว้นขาวไว้เพราะเป็นส่วนที่รับแสง ถัดจากหลังคาไปเป็นบรรยากาศก็ให้ใช้สีของบรรยากาศเพิ่มความเข้มระบายกดระยะ ลงไปเป็น Hard edgeเพื่อให้ตัวบ้านและบรรยากาศโดยรอบตัดกันเป็นขอบคมชัด แยกสัดส่วนกันเพื่อให้บ้านดูลอยเด่นขึ้นมา
Soft edge คือการเจือจางขอบเขตระหว่างพื้นกับรูปบางส่วนให้ดูกลมกลืนกัน วิธีการคือใช้น้ำมา soft ตรงเส้นขอบให้เกิดการเจือจาง เทคนิคนี้ใช้ในกรณีที่ต้องการลดความขัดแย้งให้เกิดการกลมกลืน เช่นกรณีระบายภาพคลื่นในทะเล บางจุดของคลื่นจะมีน้ำทะเลตัดกับฟองอย่างชัดเจน และบางจุดที่ต่อเนื่องจะมีความกลมกลืนกัน เพราะฟองคลายตัวลงหรืออาจเป็นส่วนที่รับแสง ตรงส่วนนี้ให้เราSoft edge โดยใช้น้ำมาSoft เพื่อละลายเส้นขอบแสดงความกลมกลืนได้
สร้างโดย: 
 
น.ส.ธนาภา เกียรติธนสมบัติ เลขที่ 42 ม.6/2 รร.สตรีศรีสุริโยทัย กทม.

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
ddd